ป้ายบอกทาง ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย
4 กรกฎาคม 2566ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ประวัติศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย
อำเภอเขาย้อยมีประชากรที่มีเชื้อสายไทยทรงดำ ร้อยละ ๘๐ ชาวไทยทรงดำมีประวัติการอพยพมาจากเมืองเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์สำคัญ ๆ เช่น ลักษณะของบ้านเรือน การแต่งกาย ทรงผม พิธีกรรม อาหาร และภาษาพูด ภาษาเขียน
ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ (บ้านวัง) ต.เขาย้อย อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี พื้นที่โดยประมาณ ๘ ไร่ เดิมเป็นพื้นที่สาธารณะที่ชาวไทยทรงดำใช้ร่วมกันในพิธีทำแฮ่ว (พิธีฝังกระดูก หลังจาเผ่าตามพิธิกรรม) หรือเรียกว่า “ป่าช้าลาว” ต่อมาเมื่อมีการจัดพิธีศพที่วัดตามพิธีกรรมทางพุทธศาสนากันมากขึ้น พื้นที่ดังกล่าวจึงไม่ค่อยได้ใช้ ประกอบกับยังไม่มีสถานที่แห่งใดที่เป็นศูนย์รวมทางวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำ ชาวบ้านและเทศบาลตำบลเขาย้อยจึงร่วมกันคิดก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อยแห่งนี้ขึ้น ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ปลูกสร้างบ้านแบบไทยทรงดำ จำนวน ๑ หลัง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้เป็นสถานที่รวบรวมศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยทรงดำ
- เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ
- เพื่อเป็นสถานที่สำหรับศึกษา เรียนรู้วัฒนธรรมไทยทรงดำ
เทศบาลตำบลเขาย้อย ได้จัดทำ จัดสรรงบประมาณในการก่อตั้ง ปรับปรุงและสนับสนุนการดำเนินงานของ ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย
ปี ๒๕๔๕ ได้การสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย
เงินอุดหนุน ๗,๒๙๖,๐๐๐ บาท
- ก่อสร้างเรือนแบบไทยทรงดำ (ดั้งเดิม) สำหรับบริการสถานที่พัก จำนวน ๑๐ หลัง (ติดแอร์ ๕ หลัง พัดลม ๕ หลัง)
- อาคารสำหรับประชุมสัมมนา จำนวน ๑ หลัง
- เรือนอาคารไทยทรงดำสำหรับจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์ จำนวน ๑ หลัง
ปี ๒๕๔๙ ได้การสนับสนุนงบประมาณ CEO จากผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
เงินอุดหนุน ๖,๘๕๒,๐๓๕ บาท
- ก่อสร้างศูนย์อาหารพื้นเมืองไทยทรงดำ จำนวน ๑ หลัง
- ขยายปรับปรุงสระน้ำ ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ จำนวน ๑ จุด
ปี ๒๕๕๐ เทศบาลได้จัดสรรงบประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท
- ก่อสร้างอาคารไทยทรงดำ (ดั้งเดิม) ทดแทนอาคารเดิมที่ถูไฟไหม้เสียหาย จำนวน ๑ หลัง
- ห้องทำงานและห้องพยาบาล ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จำนวน ๑ หลัง
ปี ๒๕๕๘ เทศบาลได้จัดสรรงบประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาท
- ปรับปรุงสะพานข้ามสระน้ำ ห้องน้ำ-ห้องส้วม
- ตกแต่งลายเลียนแบบธรรมชาติ
ปี ๒๕๕๘ เทศบาลได้จัดสรรงบประมาณ ๑,๑๖๖,๖๑๘ บาท
- ก่อสร้างบ้านไทยทรงดำ ๑ หลัง
รายจ่ายประจำ รับสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลเขาย้อย
- ค่าจ้างพนักงานปฏิบัติงานในศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า
- ค่าปรับปรุง ซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุงภูมิทัศน์
- ค่าวัสดุ ครุภัณฑ์
การบริหารจัดการศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย
การกำหนดนโยบาย ทิศทาง กิจกรรมต่าง ๆ ที่จะดำเนินการภายในศูนย์ฯ โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ซึ่งประกอบด้วย ชาวบ้านไทยทรงดำ ผู้บริหารเทศบาลฯ ผู้แทนจากส่วนราชการในอำเภอเขาย้อย และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้เทศบาลฯ จัดจ้างพนักงานเพื่อปฏิบัติงานดูแลศูนย์ฯ บริการ ผู้มาศึกษาดูงาน นักท่องเที่ยว ในอัตราต่างๆ คือ ผช.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ผช.เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ภารโรง คนงานทั่วไป และ จนท.ยาม
ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย ภายในอาคารจัดจำลองแสดงวิถีชีวิต วัฒนธรรมไทยทรงดำ และมีการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยชาวบ้านไทยทรงดำ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวไทยทรงดำ ดังนี่
- การจัดงานประเพณีไทยทรงดำประจำปี ช่วงเดือนเมษายน
- การบริการนักท่องเที่ยวใช้ชีวิตแบบไทยทรงดำ
- การบริการนักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจในการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยทรงดำ
- การสาธิตการแต่งกาย
- การสาธิตการทำอาหาร / ขนม
- การสาธิตงานหัตกรรม
- การสาธิตงานจักสาน
- การสาธิตการทำทรงผม
- การสาธิตการละเล่น ฟ้อนรำ ดนตรีแคน
- การสาธิตอาชีพ เช่น เลี้ยงไหม ทอผ้า
ผลกระทบต่อสังคม
- ประชาชนชาวไทยทรงดำ มีสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมวัฒนธรรม วัฒนธรรมไทยทรงดำ
- ประชาชนชาวไทยทรงดำ มีความภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น
- วัฒนธรรมไทยทรงดำ ได้รับการเผยแพร่เป็นที่รู้จักทั้งในและนอกประเทศ
- ผลิตภัณฑ์จากวัฒนธรรมไทยทรงดำ ได้รับการส่งเสริม จำหน่าย เพิ่มรายได้กับประชาชน
- ศูนย์วัฒนธรรมเป็นสถานที่ผลิตภัณฑ์ สินค้าพื้นเมืองของอำเภอเขาย้อย เพิ่มรายได้กับประชาชน
- ศูนย์วัฒนธรรมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพิ่มรายได้กับประชาชนในพื้นที่
อนาคต
- ศูนย์วัฒนธรรมเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ วัฒนธรรมไทยทรงดำที่สำคัญของประเทศไทย
- ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อยเป็นศูนย์กลาง เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยทรงดำในประเทศไทย
ประเทศเวียดนาม และประเทศอื่นๆ
- ศูนย์วัฒนธรรมเป็นสถานที่ผลิตภัณฑ์ สินค้าพื้นเมืองของอำเภอเขาย้อย ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
- ศูนย์วัฒนธรรมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพิ่มรายได้กับประชาชนในพื้นที่มากขึ้น