ประวัติความเป็นมาของชาวไทยทรงดำ

  ประวัติความเป็นมา

          “ ไทยทรงดำ  ลาวโซ่ง หรือ ไทยโซ่ง ” หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาไทย   คนไทยเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ลาว หรือ ลาวโซ่ง เพราะอพยพจากเมืองเดียนเบียนฟู  อยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศเวียดนาม ผ่านมายังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
           ผู้ไทนิยมแต่งกายด้วยสีดำ จึงเรียก ไทยทรงดำ ตามลักษณะเครื่องแต่งกาย ถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณ แคว้นสิบสองจุไทย อยู่ทางตอนเหนือประเทศเวียดนาม ส่วนคำว่า “ โซ่ง ” ที่เรียกกันสันนิษฐานเป็นคำที่มาจากคำว่า “ ซ่วง หรือ ทรง ” แปลว่า กางเกง ไทดำถูกกวาดต้อนและอพยพมาใน ประเทศไทย    สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง ถูกกวาดต้อนและอพยพเข้าสู่ประเทศไทย ๓ ครั้ง

        ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๒๒ สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี สาเหตุของเจ้าเมืองเวียงจันทน์ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพไปเวียงจันทน์ ได้รวบรวมครอบครัว    ชาวเวียงจันทน์มาอยู่ในไทยพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าให้สร้างบ้านเรือนอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี     จังหวัดราชบุรี และจังหวัดจันทบุรี

      ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๓๕  สมัยรัชกาลที่ ๑ รวบรวมครอบครัว ลาวโซ่ง ลาวพวน ลาวเวียงมาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง สาเหตุเมืองแถง เมืองพวน แข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ยกกองทัพ ไปตีได้  ลาวโซ่ง ลาวพวน ลาวเวียง ลงมาถวายพระมหากษัตริย์ไทย ที่กรุงเทพฯ รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้ลาวเวียงไปอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี ลาวพวนไปอยู่ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี และลาวโซ่งมาอยู่ที่หมู่บ้านหนองเลา หรือ หนองลาว (หนองปรง)  ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

     ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๓๖๙ – ๒๓๗๑ สมัยรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ก่อกบฏ  ต่อประเทศสยาม สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกกองทัพไปปราบเมืองแถง ได้รวบรวมครอบครัวลาวโซ่งมาไว้ที่จังหวัดเพชรบุรี    ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม   แต่เนื่องจากลาวโซ่งอาศัยอยู่ที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง แต่บริเวณนั้นเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ลาวโซ่งไม่เคยชินกับความอยู่แบบนี้ จึงอพยพมาในอำเภอเขาย้อย เพราะลักษณะภูมิประเทศคล้ายเมืองแถง  มีทั้ง ป่า ภูเขา ลำห้วย จึงได้ตั้งบ้านเรือนหนาแน่น ที่สุด ที่ตำบลหนองปรง ตำบลห้วยท่าช้าง ตำบลทับคาง    ลาวโซ่งรุ่นเก่ายังไม่ลืมถิ่นฐานบ้านเดิม มีความปรารถนาจะกลับไปบ้านเกิดของตน เมื่อเดินทางไปนานๆ มีคนเจ็บคนตายไปเรื่อยๆ หลายคน พวกลูกหลานไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เพราะไม่รู้ถิ่นฐานบ้านเกิดจึงตั้งหลักอาศัยอยู่บริเวณนั้น ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น                                                 

                         เสฐียรโกเศศ (2509) ได้เขียนว่า “ส่ง โซ่ง ทรง” มีความหมายเดียวกันว่า กางเกงดําโซ่ง ซ่งซ่วง (ส้วง) เป็นภาษาลาวหมายถึงกางเกง ดังนั้น ลาวทรงดํา ไทยทรงดํา ลาวโซ่ง จึงหมายถึง ผู้ที่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีดําใน ขณะที่พระบริหารเทพธานี (2480) กล่าวไว้ในหนังสือ พงศาวดารชาติไทย ตอนหนึ่งว่า “ผู้ไทยดําที่เรียกกัน แถวเมืองเพชรบุรีและราชบุรีลาวโซ่ง คําว่าโซ่ง หมายถึง กางเกง ดังนั้นผู้ไทยดํา ก็คือลาวโซ่งดํา เพราะชอบนุ่ง กางเกงสีดํา” หลวงวิจิตรวาทการ (2512) กล่าวไว้ในหนังสือ เรื่องค้นคว้าชนชาติไทยตอนหนึ่งว่าที่เรียกว่า ไทยทรงดํา เพราะชอบนุ่งผ้าด้วยสีน้ําเงินแก่ซึ่งเป็นสีประจําชาติไทยมาแต่โบราณ และได้กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า ไทยดํา เป็นเชื้อสายชนชาติไทย สาขาใหญ่สาขาหนึ่ง และเรียกผู้ไทยสาขานี้ว่าเป็นชนชาติไทยเดิมหรือ ไทยโบราณ ม.ศรีบุษรา (2530) ได้กล่าวว่า ไทยทรงดํา หรือไทยดํามีถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศจีนตอนกลาง ซึ่งเป็น ถิ่นฐานเดิมของชนเผ่าไท ต่อมาคนไทได้อพยพลงมาทางใต้ไทดําได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งที่บริเวณแม่น้ําอูซึ่ง เป็นแม่น้ําที่ไหลบรรจบกับแม่น้ําโขงที่หลวงพระบางในแคว้นสิบสองจุไท ซึ่งมีเมืองแถงหรือปัจจุบัน คือ เมืองเดียนเบียนฟูประเทศเวียดนาม เป็นเมืองหลวงและเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ บริเวณนี้อยู่ตอนเหนือของ ราชอาณาจักรลาวใกล้เขตแดนเวียดนามเหนือ นอกจากเมืองแถงแล้ว บริเวณที่ไทดําอาศัยอยู่ ได้แก่ เมืองควาย เมืองดุง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโมะ เมืองหวัด เมืองซาง และรวมเมืองที่ผู้ไทขาวอาศัยอยู่อีก 4 เมือง รวมทั้งหมดเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า เมืองสิบสองผู้ไท หรือ สิบสองเจ้าไท และต่อมาเป็นสิบสองจุไทแคว้นสิบสองจุไทเดิมนั้นขึ้นอยู่กับอาณาจักรน่านเจ้า ภายหลังมาขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมือง อาณาจักรเชียงแสนถูกพวกไทมาทําลายลงแล้ว ก็ไปขึ้นกับอาณาจักรล้านนา ต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักร สุโขทัย ในรัชกาลพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่ออาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอํานาจลงในตอนต้นสมัยอยุธยา แคว้น สิบสองจุไทได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคที่ติดต่อกับพม่า ซึ่งจีนเรียกว่า “แคว้นสิบสองปันนา” หรือ “พวกไทลื้อ” และภาคที่ติดต่อกับจีนชาวญวน เรียกว่า “แคว้นสิบสองจุไท” 

                        ประเทศลาวตอนเหนือ เรียกว่า “แขวงหัวพัน, ซําเหนือ หรือเวียงไชย” กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนมาก เป็นชาวไทดําซึ่งชาวลาวเรียก “ไทเหนือ” เพราะตั้งอยู่ติดกับเมืองแถงแห่ง สิบสองจุไท และไม่ห่างจาก แม่น้ําหลํา หรือ ดํา (ซงโบ) ซึ่งชาวผู้ไท เรียกว่า “แม่น้ําแท้” (ม.ศรีบุษรา, 2530) ไทดําอาศัยอยู่ทั่วไปตั้งแต่มณฑลกวางสียูนนาน และบริเวณลุ่มแม่น้ําดํา แม่น้ําแดง ในแคว้นตังเกี๋ย ไทดําจากแคว้นสิบสองจุไทได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ด้วยเหตุผลทางการเมือง 

                          ไทยทรงดํา หรือ ลาวโซ่ง มีผิวขาวคล้ายคนจีนในปัจจุบัน ลูกหลานลาวโซ่งหรือไทยทรงดําอยู่อาศัยใน จังหวัดเพชรบุรีราชบุรีนครปฐม สุพรรณบุรีได้แปรสภาพเป็นชาวไทยทั่วไป ชาวไทยทรงดํา คือ ลาวทรงดําหรือลาวโซ่ง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตั้งแต่บริเวณ มลฑลกวางสียูนาน ตังเกี๋ย ลุ่มแม่น้ําดําและแม่น้ําแดง จนถึงแคว้นสิบสองจุไท ในประเทศเวียดนามตอนเหนือ ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย ในสมัยกรุงธนบุรีพ.ศ.2322 สาเหตุของการอพยพเนื่องจากเมื่อต้นแผ่นดินของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เจ้านครเวียงจันทน์ได้กระทําการอันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อครั้งดํารงพระยศเป็นสมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพขึ้นไปตีนครเวียงจันทน์ในพ.ศ.2321 ครั้นปี 2322 กองทัพสมเด็จ

                           เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกําหนดให้กองทัพเมืองหลวงพระบางยกกําลังไปตีเอาเมืองม่วย เมืองทัน (ญวน เรียกว่า เมืองซือหงี) ซึ่งเป็นเมืองของผู้ไทยทรงดํา ตั้งอยู่ริมเขตแดนเมืองญวนเหนือ แล้วกวาดต้อนครอบครัว ลาวเวียงจันทน์และไทยทรงดําลงมายังประเทศไทย ให้ลาวเวียงจันทน์ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองสระบุรีราชบุรีและ จันทบุรีส่วนไทยทรงดําให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองเพชรบุรีสันนิษฐานว่าอยู่ที่หนองปรง (หรือหมู่บ้านหนองเลา) อําเภอเขาย้อย ในปีพ.ศ. 2335 ไทยทรงดําได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง สาเหตุเกิดจากพวกเมืองแถง เมืองพวน แข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงยกกองทัพไปตีได้ไททรงดําและลาวพวนมาไว้ที่ เพชรบุรีต่อมาในรัชกาลที่ 3 หัวเมืองบางหัวเมืองที่ขึ้นต่อเมืองหลวงพระบางกระด้างกระเดื่อง พ.ศ. 2371 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แม่ทัพยกกองทัพไปปราบเมืองแถง และ ได้ครอบครัวไทยทรงดําลงมาไว้ที่เมืองเพชรบุรีอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ. 2379 เมืองหึม (ฮึม) เมืองคอย เมืองควร แข็งข้อต่อเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์แต่งให้ท้าวพระยาคุมกองทัพขึ้นไปปราบ ได้ไททรงดําส่งมาไว้ ที่เมืองเพชรบุรีต่อมาปีพ.ศ. 2381 เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์เจ้านายทางเมืองหลวงพระบางและเวียงจันทน์เกิด วิวาทกัน เจ้าราชวงศ์ได้คุมไทยทรงดําลงมาไว้ที่กรุงเทพฯ ไทยทรงดําที่นํามาไว้ในจังหวัดเพชรบุรีในรัชกาลที่ 3 นี้ตั้งหลักแหล่งอยู่ตําบลท่าแร้ง อําเภอบ้านแหลม แต่เนื่องจากไทยทรงดําชอบอาศัยอยู่ที่ดอน น้ําไม่ท่วม และ บริเวณที่อาศัยเดิมขาดแคลนไม้จึงได้อพยพไปอยู่ที่อําเภอเขาย้อยเพิ่มเติมอีกในเวลาต่อมา

                           ม.ศรีบุษรา (2530) ได้กล่าวถึงการอพยพของชาวไทยทรงดําเพิ่มเติมว่า “คณะพรรคกอบกู้อิสรภาพ แห่งชาติเวียดนาม” หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า “เวียดมินห์” มีจุดประสงค์ที่จะให้ญวนเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ โดยทําการขับไล่ฝรั่งเศสให้ออกไปพ้นดินแดนอินโดจีน ในปีพ.ศ. 2497 พวกเวียดมินห์ได้เข้าโจมตีเดียนเบียนฟู (เมืองแถง) เมืองป้อมของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นบริเวณที่มีไทดําอาศัยอยู่หนาแน่น จนกระทั่ง เดียนเบียนฟูแตก และฝรั่งเศสยอมจํานน จากการสู้รบนี้ทําให้ชาวไทดําประมาณ 2,000 คนอพยพเข้าไปตั้ง บ้านเรือนอยู่แถบเมืองหลวงพระบาง และอีกกลุ่มหนึ่งประมาณ 3,000 คนอพยพเข้าไปอยู่ที่เชียงขวาง สถานที่ ทํามาหากินคับแคบ ไทดําส่วนหนึ่งจึงอพยพมาอยู่ที่แขวงเวียงจันทน์ที่บ้านอีไล ห่างจากเวียงจันทน์ไปทาง เหนือประมาณ 20 กิโลเมตร ไทดําอาศัยอยู่ที่เวียงจันทน์ประมาณ 20 กว่าปีจนกระทั่งคอมมิวนิสต์เข้าครอง ลาว ชาวไทดําผู้รักอิสรเสรีจํานวนกว่า 2,000 คน ต้องอพยพหลบภัยเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2518 ใน จํานวนนี้ส่วนหนึ่งอยู่ในศูนย์ผู้อพยพ ส่วนหนึ่งกลับไปอยู่ลาว อีกส่วนหนึ่งขอลี้ภัยคอมมิวนิสต์ไปอยู่ที่ประเทศ ฝรั่งเศส อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย

สรุปการอพยพของไทยทรงดําในประเทศไทย

งานวิจัยของมนูอุดมเวช (2547) ได้ให้รายละเอียดประวัติศาสตร์ไทดํา (ไทยทรงดํา) ในประเทศไทย อย่างละเอียด ที่ครอบคลุมการสํารวจ อธิบาย และวิเคราะห์การอพยพ, การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชนกลุ่มนี้