ภาษาไทยทรงดำ

                   ชาวไทยทรงดำจะมีภาษาพูดเฉพาะของตนเองเมื่ออยู่กับพวกพี่น้องหรือญาติสนิทกันจะ ส่งภาษาเดียวกัน แต่ภาษาเขียนของชาวไทยทรงดำไม่มีใครเขียนได้แม้กระทั้ง ผู้สูงวัยบางท่านยังเขียนภาษาไทยทรงดำไม่ได้ นอกจากผู้ที่มีความรู้ในด้านไสยศาสตร์หรือคาถาอาคมหรือพ่อมด บางท่านก็เขียนได้ส่วนใหญ่จะน้อยมาก ภาษาโส้งชาวไทยทรงดำ มีภาษาพูดภาษาเขียน

                   โซ่งหรือไทยทรงดำ เป็นกลุ่มชนที่มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนของตนเอง ภาษาโซ่งเป็นภาาาตระกูลไทซึ่งหมอวิลเลี่ยม คลิฟตัน ดอดจ์  ได้แบ่งไทยออกตามลักษณะอักขระแล้วปรากฏว่าโซ่ง-เป็นไทยที่ใช้อักขระไทยดำ และได้มีผู้แบ่งพวกที่ใช้ภาษาตระกูลไท เป็น 3 พวก พวกหนึ่งคือ “ภาษาไทยของคนไทยตะวันออก ได้แก่ไทยโท้ ไทยนุง ผู้ไทย (ภูไทย ภู่ไทย) วึ่งแยกออกเป็นภูไทของ ภูไทยแดง ภูไทยดำ ภูไทลาย (พวกโซ่งในราชบุรี เพชรบุรี ก็เห็นจะเป็นพวกภูไทยดำนั่นเอง)ดังนั้นอักษรโซ่งที่ใช้อยู่ก็คืออักษรไทยดำนั่นเอง และการเขียนหรือบันทึกอักษรนิยมเขียนในสมุดพับเป็นชั้นๆ เช่นเดียวกับสมุดข่อย แต่เรียกว่า “ปั๊บ” ส่วนภาษาพูดนั้น

ตัวอย่างคำศัพท์ภาษาโซ่ง

  • อ่าย   หมายความว่า พ่อ
  • เอม            “           แม่
  • อ้ายอู่         “            ปู
  • เอมอู่          “           ย่า
  • อ่ายเถ่า      “            ตา  
  • เอมเถ่า      “            ยาย
  • ฮา             “            ฉัน
  • ซู              “            เธอ
  • อิ้น            “            เล่น
  • แจ่ว           “           น้ำพริกปลาร้า
  • บั้ง            “            กระบอก
  • ป๊า            “            มีด
  • ปุม            “           ท้อง
  • ปะ            “            พูด

ตัวอย่างประโยคภาษาโซ่ง

  • ซูมักฮายา     หมายความว่า    เธอรักฉันได้ไหม
  • บ่มักเลาะ          “                   ไม่รักหรอก
  • ยามาแบ้วฮายี้         "             อย่ามาโกหกฉันนะ
  • ไปกาเลามาเล้        "              ไปไหน
  • ต๋าวเฮือนฮี้             "              กลับบ้านเถอะ