ลักษณะการแต่งกาย
การแต่งกายไทยทรงดำ เน้นด้วยผ้าสีดำหรือสีกรมท่า โดยแบ่งออกเป็นของผู้ชายและผู้หญิง การแต่งกายผู้ชาย คือ ใส่เสื้อไทติดกระดุมเงินตั้งแต่ 11 เม็ดขึ้นไป สวมซ่วงก้อม หรือ (กางเกงขาสั้น) คาดด้วยสายคาดเอว หรือ (ฝักเอว)ใส่เสื้อฮีชายในชุดพิธีกรรม การแต่งกายผู้หญิง คือ ใส่เสื้อก้อมติดกระดุมเงินไม่เกิน 11 เม็ด ฮ้างผ้าซิ่นลายแตงโม
ไทยทรงดำเป็นเผ่าพันธุ์เดียวในโลกที่ประหยัดและบอกลักษณะการแต่งกายแต่ละความหมายได้ชัดเจน พอจะแยกเป็น 2 ประเภท คือ แบบเป็นพิธี และไม่เป็นพิธี สีที่ใช้เป็นหลัก มี 5 สี คือ ดำ ขาว เขียว แดงเลือดหมู และแสด
การแต่งกายแบบพิธีการ และแต่งกายในวิถีชีวิตประจำวัน มีระเบียบ สังคม จัดไว้อย่างชัดเจน เช่น ชุดหมอเสนผู้น้อย ชุดหมอเสนผู้ต้าว ชุดพ่อมด ชุดแม่มด ชุดลูกสะใภ้ไปบ้านแม่สามี ชุดขึ้นบ้านใหม่ ชุดเขือยงานศพผู้น้อย ชุดเขือยงานศพผู้ต้าว ชุดไปเกี้ยวสาว ชุดรำแคน ชุดโยนลูกช่วง ชุดอยู่กับบ้าน ชุดไว้ทุกข์ ฯลฯ
กางเกงมี 2 แบบ ซ่วงก้อม กับ ซ่วงฮี เสื้อไท เสื้อฮี งานไม่เป็นพิธี ใช้ซ่วงก้อม กับเสื้อไท งานพิธี ซ่วงฮีหรือกางเกงขายาว และเสื้อฮี หากใส่เสื้อไทนิยมคาดกระป๋องบุหรี่หรือเงิน เสื้อไทเป็นเสื้อคอตั้ง ไม่มีปกตรงแขนยาว ตรงสะโพกจะบานออกติดกระดุมถี่เท่าใดแสดงถึงเป็นคนละเอียดรอบคอบ นิยมติด 19 เม็ด 21 เม็ด 27 เม็ด กระดุม1 ชุดเรียกว่า 1 ซุ่ม จะติดจำนวนคี่ ดังนั้นหากใครติดรังดุมมากเท่าใดญาติต้องช่วยใส่ลูกกระดุมให้ เป็นการแสดงออกถึงการเอื้ออาทรต่อกัน ผ้าขาวม้าลาวโซ่งนิยมพาดบ่า หรือ โพกศีรษะ ผ้าขาวม้าจะเป็นลายทางๆ ไม่เป็นตาสี่เหลี่ยม สีที่ใช้คั่นผ้าขาวม้าเป็นสีหลักดังกล่าว พื้นมักจะเป็นสีขาวไม่นิยมพื้นสีดำ เสื้อฮีชาย ที่คอเดินด้ายหลายสีชายเสื้อด้านในตกแต่งด้วยเอื้อแส่ว ด้านข้างตัวเสื้อจะเย็นขอกุด เป็นจุดสวยที่จะโชว์ คือบริเวณนี้เพราะอยู่ด้านนอก ใต้รักแร้ จะตกแต่งด้วยเอื้อแส่ว ไม่มีเสื้อชั้นในหรือกางเกงใน กางเกงในใช้ซ่วงก้อม
การแต่งกายของหญิงไทดำ หรือไททรงดำ
มีแบบเป็นพิธี และไม่เป็นพิธี แบบไม่เป็นพิธี หญิงนุ่งผ้าถุงลายแตงโมกับเสื้อก้อม ผ้าสไบต้องใช้เป็นประจำสำหรับคล้องคอเวลาคุยกับหนุ่ม เอาไว้โพกผมมิให้หลุดเวลาทำงานหรือพันเอวหรือสะโพกเวลาทำงานเพื่อให้กระชับหรือนุ่งผ้าตาหมี่เอาไว้ใช้ในพิธีเสน ซึ่งสิ่งของสวยงามไปให้ผีใช้ แบบเป็นพิธี นุ่งผ้าซิ่นตาหมี่หรือผ้าซิ่นลายแตงโมกับเสื้อฮี การใส่เสื้อฮี หมายถึงการแต่งกายอย่างเรียบร้อยแสดงถึงความเคารพ การใส่เสื้อฮีจะใส่ด้านที่ไม่มีลวดลายสวยงาม สำหรับด้นในของเสื้อฮีใช้ในการคลุมโลงศพเพียงอย่างเดียว คลุมทั้งศพผู้หญิงหรือศพผู้ชาย แต่ใช้เสื้อฮีผู้หญิงไม่ใช้เสื้อฮีผู้ชายแม้กระทั่งแต่งกายให้ศพ ก็ต้องใส่เสื้อฮี เพื่อที่จะได้ไปเฝ้าแถน และต้องใส่ด้านที่คนมีชีวิตใส่ เสื้อฮีใช้ในงานมงคลและอวดมงคล บอกถึงฐานะของผู้ใส่ว่าเป็นเขยหรือสะใภ้
การนุ่งผ้านุ่ง
เด็กจะนุ่งทบไปข้างหน้าเหมือนคนไทย เริ่มเป็นสาวเริ่มนุ่งผ้าต่อหัวซิ่นและนุ่งแบบ “หน้าวัว” คือ ทบทั้ง 2 ด้าน มาไว้ตรงกลางหน้าท้องและพับมุมผ้ามารวมตรงหน้าท้องทั้งนี้เพื่อสะดวกในการเดินทาง เพราะการทอผ้าด้วยมือหากแรงกระแทกไม่แข็งแรงเนื้อผ้าจะแยก นุ่งก็ต้องระวัง นั่งก็ต้องระวัง
ผ้าซิ่นลายแตงโม
ผ้าซิ่นหรือผ้าถุง คือผ้าที่ใช้นุ่ง ในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆ โดยมีการใช้แตกต่างกัน คือ ผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะนุ่งซิ่นต่อหัวแต่ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วผ้าซิ่นหรือผ้าถุง คือ ผ้าที่นุ่งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆ โดยมีการใช้แตกต่างกัน คือผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะนุ่งซิ่นต่อหัว แต่ถ้าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องนุ่งซิ่น 2 ผืน เพื่อ ป้องกันประจำเดือนที่อาจมาไม่ปกติ ถ้านุ่งซิ่นผืนเดียวอาจทำให้เปื้อนผ้าซิ่นได้ชาวไทยทรงดำ จึงมีคำกล่าวไว้ว่าดซอย ”สาวน้อย ขอดซอย เอื้อม ไหล่ สาวใหญๆ นุ่งซิ่นต่อหัว สาวมีผัว นุ่งซิ่นสองซ้อน” มี ลักษณะของผ้าซิ่นดังนี้
รูปแบบผ้าซิ่นลายแตงโม
ผ้าซิ่น มีเส้นไหมสีแดงสอดไว้ตามแนว ตั้งของผ้าเรียกว่า “เส้นยืน” แล้วสอด ด้วยฝ้ายสีครามเข้ม ตามแนวนอนเรียกว่า”เส้นพุ่ง” สลับกับฝ้ายสีขาวทอแนวตั้งจนกลายเป็นผ้าพื้นที่มีลายทางเล็กๆตามความยาวของลำตัวคล้ายลายบน ผลของลูกแตงโม ทำให้ผ้าซิ่นมีชื่อรียกว่า “ผ้าซิ่ลายแตงโม” ซึ่งประกอบด้วยผ้า 3 ส่วน คือ หัวซิ่น อยู่ท่อนบนสุดเป็นผ้าฝ้าย พื้นสีครามเข้ม ความกว้างของแถบผ้า เท่ากับความกว้างของแถบผ้า เท่ากับความกว้างของตัวซิ่น รูปแบบ ผ้าซิ่นส่วนนี้ค่อนข้างบาง เมื่อนุ่งแล้ว กระชับแนบลำตัว ตั้งแต่เอวและสะโพก ช่วงบน ทำให้เห็นรูปร่างของผู้สวมใส่ตัวซิ่น อยู่ส่วนกลางของผ้าติดกับหัวซิ่นพื้นที่ส่วนใหญ่มีสีครามเข้มผ้าใน ส่วนนี้หนากว่าหัวซิ่น เมื่อนุ่งแล้วนำมาทบกันตรงกลาง ทำให้ดูมั่นคงหนักแน่น เวลาเคลื่อนไหวส่วนกลางและชายผ้าจะอ่อนพลิ้วคล้ายกับคลื่นน้ำ ตีนซิ่น อยู่ด้านล่างสุดต่อจากตัวซิ่น เป็นผ้าทอ ด้วยผ้าฝ้ายมีคุณประโยชน์ เพื่อช่วยถ่วงน้ำหนักของตัวซิ่นให้อยู่ตามรูปทรง
สีของผ้าซิ่นลายแตงโม
ผ้าซิ่นมีพื้นเป็นสีครามเข้มโดยมีเส้นไหม สีขาวตามแนวตั้งจนกลายเป็นลายทางเล็กๆ คล้ายลายผลของลูกแตงโม ทำให้ผ้าซิ่นทีชื่อเรียกว่า “ผ้าลายแตงโม” ชาวไทยทรงดำมีความเชื่อตาม หลักการวางสีของผ้าซิ่นโดยเชื่อว่า สีแดง หมายถึง เลือด เนื้อหรือสิ่งมีชีวิต การหลุดพ้น และการสิ้นสุด ซึ่ง เป็นการสื่อให้เห็นถึงความ เป็นพวกพ้อง เผ่าพันธุ์ เดียวกันแม้ว่าจะมีชีวิตหรือเสียชีวิตแล้ว ก็ตามส่วนสีครามเข้ม สลับกับสีขาว เป็นการบ่งบอกถึงความเดียว-ดาย ที่ต้องพลัดพรากจากญาติพี่น้องและบ้านเกิดเมืองนอนที่อยู่อาศัยในประเทศลาว และเวียดนาม
ลวดลายของผ้าซิ่นลายแตงโม
ผ้าซิ่นมีลวดลาย 3 คือ ลายตากิ๊บหรือลายตาคีบ เป็นลาย สีขาวสองเสนจับหรือคีบผ้าฝ้ายสีครามเข้ม ให้อยู่ในแนวยาวตามลำตัว หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มไทดำในลาวและเวียดนาม ลายต่อมา คือ ลายตาย่อยหรือตาเดี่ยวเป็น ลายสีขาวเพียงเส้นเดียวยาวตามลำตัว หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มไทยทรงดำในลาวและเวียดนาม ลายต่อมา คือ ลายตาย่อยหรือาเดี่ยวเป็น ลายสีขาวเพียงเส้นเดียวยาวตามลำตัว หมายถึงความโดดเดี่ยวเดียวดายจากการ ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ชนกลุ่มน้อยลายสุดท้ายคือ ลายตาหมู่ หรือตาคู่ ลายสีขาวสองเส้นคั่น ด้วย ฝ้าย สีครามเข้ม หมายถึงความพลัดพราก จากบ้านเกิดเมืองนอนและญาติพี่น้อง
ผ้าเปี้ยว
ผ้าเปียวหรือผ้าพันศีรษะ
ผ้าเปียว หมายถึง ผ้าที่ใส่ศีรษะแทนหมวกเป็นผ้าที่ทอจากฝ้าย หรือผ้าไหมสีครามเข้ม ผ้าเปียวเป็น
สัญลักษณ์ของการมีเจ้าของและคนชรา ผู้หญิงสาวจึงเตรียมจัดทำผ้าเปียวไว้เพื่อนำไปเป็นผ้าไหว้แม่สามี คนสูงอายุมักห่มผ้าเปียวอยู่กับบ้าน หรือห่มไปวัด โดยห่มเฉียงบ่าเหมือนกับห่มผ้าสไบ แม้แต่ตอนเสียชีวิตก็ต้องมีผ้าเปียวห่ม โดยมีความเชื่อว่าลวดลายผ้าเปียวเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล เมื่อเสียชีวิตก็ิที่ต้องมีผ้าเปียวห่ม โดยมีความเชื่อว่าลวดลายผ้าเปียวเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล เมื่อเสียชีวิตลงญาติที่ล่วงลับไปก่อนแล้วจะเดินทางมารับเพื่อไปอยู่ในดินแดนเดียวกันได้ถูกต้องลักษณะของผ้าเปียวมีดังนี้
รูปแบบผ้าเปียว เป็นผ้าที่ทอจากฟืม ขนาดเล็กเรียกว่า “ฟืมเจ็ด” มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของผ้าเปียวขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแต่ละบุคคล ผ้าเปียวมีวิธีมัด 3 แบบ คือ แบบแรกนำกลางเปียว มาใส่หน้าผากแล้วมัดไว้ที่ข้างหลัง แบบที่สองพันไว้หลายรอบบนศีรษะโดยเอาปลายด้านหนึ่งเหน็บไว้ที่ฝั่งขวาปลายด้านหนึ่งพาดลงไปปกด้านหลังเพื่อให้เห็นลาย แบบที่สามพันไว้ข้างบนแล้วให้ลายปกลงมาข้างหน้าหมายถึง ผ้าดำที่ตกแต่งด้วยดอก ซึ่งทำด้วยเส้นไหม จะมีลวดลายต่างๆที่นิยมมากคือ “เปียว” เปียวดอก จะมีด้านละ 2 ดอก ดอกจะขดเป็นวงกลม มี 8 ขด ตรงกลางจะเป็นเหลี่ยมหากตัดชายผ้าเปียวเป็นสาวเหลี่ยมแล้วทำดอกทั้ง 4 ด้าน เรียกว่า “เปียวขาบัว” หากทำเป็นลายคล้ายดาวกระจาย เรียกว่า “เปียวเบาะผักแว่น” แต่ที่จะปรากฏเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ เปียวเบาะ หญิงที่จะใช้เปียวได้ต้องมีอายุและแต่งงานแล้ว เด็กสาวใช้ผ้าแถบ (สไบสี)
เสื้อตั๊ก
คือใส่เสื้อทุกข์เมื่อญาติผู้ใหญ่เสียชีวิต ผู้ที่จะใส่คือ ลูกหลานใกล้ชิด จะเป็นผีเดียวกันหรือไม่ใช่ผีเดียวกัน หากเป้นญาติใส่เสื้อตั๊ก เสื้อตั๊กใช้แบบเดียวกันทั้งชายและหญิง มีลักษณะเป็นคอแหลม ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เย็บไม่ต้องมั่นคงพออยู่ได้ไม่มีแขน ใช้แขนในตัว หากพ่อแม่เสียชีวิต ลูกๆต้องโพกศีรษะด้วยผ้าขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมแล้วพับเป็นสาวเหลี่ยมโพกศีรษะ การโพกศีรษะต้องระวังมีผู้ใกล้ชิดมีชีวิตอยู่ไม่นิยมโพกศีรษะใส่เสื้อตั๊กอย่างเดียว
เครื่องประดับของชาวไทดำ
เครื่องประดับจะประดับด้วยเงินทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ตุ้มหู สร้อยคอ กำไลมือ กำไลข้อเท้า เข็มขัดคาดเอว ส่วนผู้ชายก็จะมีเข็มขัดคาดเอวเหมือนกัน แต่จะทำด้วยผ้าที่มีลวดลายสวยงามมากโดยจะใช้กระจกเงา ฝนเป็นอันกลมๆ เล็กๆ ถักด้วยด้ายรอบกระจกและใช้ผ้าสีตัดเป็นลวดลายปะเป็นแถวๆ ด้านในเย็บเป็นกระเป๋าใส่ของส่วนตัว เช่น ยาเส้น ใบจาก ไม้ขีด ยาประจำตัว และสตางค์
เสื้อผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
-
เสื้อไทชาย
-
เสื้อก้อมหญิง
-
เสื้อฮีชาย
-
เสื้อฮีหญิง
-
เสื้อห่งแห่ง
-
เสื้อน้อย (เสื้อชั้นในสตรีชาวไทดำ)
-
ส้วงก้อมชาย
-
ผ้าซิ้นลายแตงโม
-
เสื้อตั๊ก
ชุดฮ้างนม
|