ความเชื่อและพิธีกรรมไทยโซ่งนับถือ ”ผี” ซึ่งมีทั้งผีดีและผีร้าย และมีความเชื่อในเรื่อง ”ขวัญ” สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโลกอยู่ใต้อำนาจของผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ดังนั้นความเป็นอยู่และพิธีกรรมต่างๆ จึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผีประเภทต่างๆ ความเชื่อเรื่องผี ไทยทรงดำมีการนับถือผีอย่างเคร่งครัด มีการเซ่นบวงสรวงผีอยู่ประจำ ไทยทรงดำนับถือผีหลายประเภท เช่น ผีบรรพบุรุษ หรือ ผีเฮือน (ผีเรือน) เชื่อว่าผีบรรพบุรุษที่ถึงแก่กรรมไปจะมาปกป้องรักษาลูกหลานให้มีความสุขได้ กระดูกพ่อแม่ จะถือเป็นเครื่องลางของขลัง ก่อนออกจากบ้านจะต้องบอกกล่าวให้คุ้มครองให้ปลอดภัย ไทยโซ่งมีการสืบผี คือผู้ใดมาจากสกุลใดก็สืบผีสกุลนั้น โดยลูกชายคนสุดท้ายจะเป็นคนสืบผีพ่อแม่และจะเป็นเจ้าของบ้านของพ่อแม่หลังจากพ่อแม่ถึงแก่กรรมแล้ว ส่วนบุตรชายคนโต เมื่อแต่งงานแล้ว ก็จะแยกไปมีบ้านต่างหาก ส่วนบุตรสาวจะสืบผีไม่ได้ เพราะจะต้องแต่งงานไปนับถือผีของฝ่ายชาย ผีบรรพบุรุษนี้จะเชิญมาอยู่บนแท่นบูชาที่มุมหนึ่งของห้องในบ้านเรียกที่จัดเฉพาะนั้นว่า “กะล่อห๋อง” ซึ่งแปลว่า “มุมห้อง” หากผู้ใดมานอนค้างที่บ้านไทยทรงดำ จะต้องบอกกล่าวผีเรือนที่ “กะล่อห๋อง” ก่อนเพื่อจะได้ไม่มาทำร้ายรบกวน เมื่อมีการเลี้ยงเหล้าแขก ต้องนำเหล้าไปให้ผีเรือนก่อนแล้วค่อยนำมาให้แขกดื่ม คนที่ไม่ได้เป็นผีเดียวกัน ความเชื่อเรื่องขวัญ ของคนไทยทรงดำเชื่อว่า ขวัญเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เมื่อใดที่ขวัญออกไปจากตัวหรือมัวไปหลงทางอยู่ที่ใด ก็จะทำให้เจ็บป่วยหรือเคราะห์ร้ายได้ต้องทำพิธีเรียกขวัญซึ่งไทยทรงดำมีพิธีเรียกขวัญหลายลักษณะ ความเชื่ออื่นๆของคนไทยทรงดำก็คล้ายๆกับคนไทยเช่น ความเชื่อเรื่องโชคลาง คำทำนาย ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องทำมาหากิน ในสมัยก่อนไทยทรงดำส่วนใหญ๋ ทำนาจึงมีพิธีกรรมมากมาย อย่างไรก็ดีความเชื่อและพิธีกรรมส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ ถึงแม้จะเปลี่ยนอาชีพมาเลี้ยงปลาหรือกุ้งแทน ไทยทรงดำนิยมตั้งศาลไว้ ณ ที่ทำมาหากินจะตั้งตรงไหนก็ได้ แต่จะต้องสะดวกไม่ขวางทางเดินต้องพ้นชายกระท่อม และต้องได้รับความเห็นชอบจากหมอดูก่อน ขั้นตอนการทำมาหากินจะต้องมีการบนบานตลอด เช่น ตอนเบิกที่ทำมาหากิน ตอนปล่อยลูกกุ้งหรือลูกปลา ตอนลากกุ้ง และตอยนจะปล่อยลูกกุ้งลงบ่อครั้งที่สอง เป็นต้น สิ่งที่ใช้บนบานมักจะเป็น หัวหมู เหล้า ไก่ สำรับคาวหวาน เมื่อทำการสำเร็จแล้วจะต้องมาแก้บนด้วยสิ่งที่บนบานไว้
พิธีงานแต่งงาน ในวันแต่งงานหรือที่เรียกว่า “ส่ง” เจ้าบ่าวและญาติพี่น้อง จะยกขันหมาก กะเหล็บเอาไว้ใส่หมากพลู ยาสูบ หมาก ๒๐ ใบ พลู ๑ ห่อ ยาสูบ ๑ ห่อ ปูนแดง ๑ ห่อ ๔ กะเหล็บ เครื่องเรือน ที่นอน ของใช้อื่นๆ ที่จำเป็น ขนม ๔ ถาด เหล้าขาว ๑ เท ของไหว้ผีเรือน หมู ไก่ ขนมใส่กระจาด เมื่อไปถึงบ้านเจ้าสาว ก็จะทำพิธีให้เจ้าบ่าวไหว้ผีเรือน กินดองหรือ ดอง คือ ประเพณีการแต่งงานหลังจากที่หนุ่มสาวได้ตกลง ปลงใจต่อกันแล้ว จะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอซึ่งเรียกว่าไป ส่อง หรือส่องขันหมากน้อย ซึ่งมีความหมายเท่ากับ การหมั้นโดยจัดหมากพลูใส่กะเหล็บ ผู้ต้าวใช้ ๔ กะเหล็บ ผู้น้อย ๒ กะเหล็บ ซึ่งฝ่ายหญิงจะนำไปแจก ญาติของตน เดือนที่ไม่นิยมแต่งงาน คือเดือน ๕ สำหรับวันต้องไม่ใช้วันเวนตง ของฝ่ายหญิง (วันเวนตง คือวันเลี้ยงผีประจำบ้าน) วันแต่งงานเจ้าบ่าว เจ้าสาวต้องใส่เสื้ฮี ผู้ต้าวมีเพื่อนเจ้าบ่าว เจ้าสาวจำนวน ๖ – ๘ คน ผู้น้อยใช้ ๒ – ๔ คน ชุดเจ้าบ่าวต่างจากชุดเพื่อนเจ้าบ่าวต้องใส่เสื้อฮีทุกคน เฉพาะเจ้าบ่าว ต้องสวมหมวกงอบ สะพายย่ามแดงบ่าขวา สะพายฝักมีดบ่าซ้าย ซึ่งให้ความหมายว่ามีความขยัน ทำมาหากินแข็งแรง การแต่งงานมีขั้นตอน ๔ ขั้นตอน คือ ส่อง สู่ สา ส่ง ขั้นส่อง คือ การไปจีบสาวสอดส่องด้วยตนเองว่าสาวใดถูกใจ มักจะใช้ในโอกาสการเล่นการละเล่น พื้นบ้านหรืองานประเพณีต่างๆ ขั้นสู่ คือ ฝ่ายชายหมายตาว่าจะให้หญิงนั้นเป็นคู่ครอง ก็จะให้ผู้ใหญ่ไปเจรจาสู่ขอจากพ่อแม่ของสาว ซึ่งต้องใช้ขันหมากพลูและเงินทองไปมอบให้ฝ่ายหญิง ขั้นสา คือ ฝ่ายชายที่ได้ทำการสู่ขอสาวแล้วนั้นเป็นผู้ที่ยากจนมีเงินทองน้อย หรือทางฝ่ายหญิง ไม่มีพี่น้องฝ่ายชายจึงช่วยทำงานให้กับพ่อแม่ ฝ่ายชายจะต้องนำตัวเองมา “อาสา” ทำงานรับใช้พ่อแม่ ฝ่ายหญิงเป็นการทดแทน บางรายใช้เวลาเป็นปี ในระยะนี้ชายและหญิงอาจอยู่กินฉันสามีภรรยาได้ด้วย เป็นบางรายเท่านั้น กรณีที่พ่อแม่ฝ่ายหญิงไม่เรียกสินสอดทองหมั้น สา คือ อาสา โดยฝ่ายชายต้องอยู่ บ้านฝ่ายหญิง เพื่อช่วยทำมาหากิน ตามแต่จะกำหนดเวลาไว้ว่ากี่ปี แล้วจึงนำฝ่ายหญิงนำไปสู่บ้านของตน ซึ่งจะต้องทำพิธี “แต่งเข้าผี” โดยฝ่ายหญิงออกจากผีเรือนของฝ่ายตนไปฝากเนื้อฝากตัวให้ผีเรือน ฝ่ายชายปกป้องคุ้มครองถือว่าเป็นการออกเรือนของหนุ่มสาว ขั้นส่ง คือ งานเลี้ยงฉลองเพื่อส่งตัวเจ้าสาวไปยังบ้านเจ้าบ่าวเรียกว่า “นัดมื้อส่ง” บรรดาญาติ ทั้งสองฝ่ายจะทำการเลี้ยงฉลองกันและกันทั้งสองฝ่าย งานส่งมักจะเป็นพิธีสำคัญในการแต่งงาน ตามประเพณีไทย ไทดำทั่วๆไป แต่ต้องใช้หมอพิธีดำเนินการเช่นเดียวกับประเพณีอื่นๆ ในการส่งตัว เจ้าสาวนั้น หมอพิธีจะต้องทำขวัญบ่าวสาวที่บ้านหนุ่มก่อนที่จะเข้าเรือนหอด้วยการทำขวัญแต่งงาน ส่วนใหญ่ คือการสอนให้รู้จักประพฤติปฏิบัติตนให้กับชายหญิงที่จะมีชีวิตร่วมกันในการครองเรือน เป็นสำคัญ
พิธีงานศพไทยทรงดำ เมื่อผู้ตายเกิดขึ้นในบ้านเจ้าของบ้านยิงปืนขึ้นฟ้า เพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปที่ชอบ ความเป็นจริงคือ แจ้งเพื่อนบ้านให้รู้ว่ามีการตายเกิดขึ้นเมื่อผู้ชราเสียชีวิตในบ้านบรรดาญาติพี่น้องในหมู่บ้านนั้น เมื่อมีคนตายในหมู่บ้านชาวบ้านทุกครัวเรือนจะให้ความสำคัญกับการตายมากจะหยุดงานการทุกอย่างที่ทำและมาช่วยกันจัการกับงานศพ ศพจะตั้งไว้ในบ้านกรณีเสียชีวิตที่บ้าน หากเสียชีวิตนอกบ้าน หรือโรงพยาบาล จะนำเอาไปไว้ที่วัด ในวันแรกที่มีคนตาย ญาติพี่น้องจะอาบน้ำแต่งตัวให้ศพ โดยให้ใส่เสื้อฮีด้านที่มีสีสัน แล้วยกศพวางบนแคร่ไม้ไผ่ที่ทำขึ้น นำไปวางไว้ใต้ขื่อบ้านตามยาว หลังจากได้ทำความสะอาดร่างผู้เสียชีวิตแล้วก็จะใส่เสื้อผ้าให้แก่ ผู้ตาย เรียกว่าการ "หลอย" ประกอบด้วย เสื้อไทหรือเสื้อก้อม 1-2 ผืน ไม่มีกระดุม กางเกงหรือผ้าซิ่น 1-3 ผืน เสื้อฮี โดยจะผูกเหรียญที่คอเสื้อผู้ตาย มีมะกอน 1 ลูกและ "ไม้ก้านก่อง" ใส่มือผู้ตายไว้ โดยใช้ แป หรือไหมที่ทอเป็นผืน และฝ้าย ห่อร่างผู้ตาย แล้วนำ ไตกิง พลาดตัวผู้เสียชีวิตไว้ แล้วนำบรรจุใส่ โลงศพ แล้วนำเสื้อฮีคุมโรง 3 ผืน ในวันแรกที่มีคนตาย ญาติพี่น้องจะอาบน้ำแต่งตัวให้ศพ โดยให้ใส่เสื้อฮีด้านที่มีสีสัน แล้วยกศพวางบนแคร่ไม้ไผ่ที่ทำขึ้น นำไปวางไว้ใต้ขื่อบ้านตามยาว รองและคลุมศพด้วยผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายสีขาวหรือแดง บ้านที่มีฐานะดีจะจัดทำ “เรือนแส” ครอบศพ เรือนแสเป็นมุ้งใหญ่ที่ทำด้วยผ้าขาว หรือจะทำเป็นม่านล้อมรอบศพก็ได้ เหนือศพจะทำราวแขวนผ้าที่ทอไว้ นอกจากผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่แขวนไว้นี้ก็จะมีไข่ดิบห่อข้าวเหนียวแขวนไว้ด้วย ปลายเท้าศพจะวางเครื่องเซ่นไหว้ ตอนกลางคืนจะมีการก่อกองไฟไว้ข้างบ้านติดกับห้องผีเป็นสัญลักษณ์ของคนตาย และปล่อยให้ลุกทั้งคืน วันรุ่งขึ้นหมอพิธีที่เรียกว่า “เขย” จะทำพิธีบอกทางให้กับผู้ตาย เพื่อให้วิญญาณกลับไปเมืองแถนบ้านเกิดเมืองนอน ซึ่งปัจจุบันนี่เปรียบเสมือนเมืองฟ้าเมืองสวรรค์สำหรับผู้ตาย หลังจากนั้นจึงหาบศพไปเผาที่ป่าแฮ่วหรือป่าช้า โดยให้ผู้เป็นลูกชายผู้ตายถือธงนำหน้าเมื่อถึงป่าแฮ่ว หมอพิธีต้องทำพิธีเสี่ยงทายเพื่อขอซื้อที่สำหรับเผาศพ เมื่อได้ที่แล้ว จึงช่วยกันถางหญ้าพรวนดินให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วปักเสา 4 เสา วางแคร่บนปลายเสา กองฟืนไว้ใต้เสา แล้วหมอพิธีจุดไฟเผาไล่มด จากนั้นเจ้าภาพจะจุดไฟเป็นคนแรก วันรุ่งขึ้น ญาติจะไปเก็บกระดูก และทำพิธีส่งผี คือส่งเสื้อผ้าเครื่องใช้ไปให้ผี เช่น ธงสำหรับให้ผู้ตายเกาะชายธงไปเมืองฟ้า เสาหลวงเป็นพาหนะให้ศพขี่ไปเมืองฟ้า เรือนแก้วสำหรับเป็นบ้านเรือนให้ผู้ตายได้อยู่ในเมืองฟ้า เป็นต้น หลังจากพิธีส่งผีแล้ว จะต้องหาวันที่ทำพิธีแผ้วเรือน เพื่อล้างเรือนให้สะอาดเสียก่อนที่จะอยู่อาศัยกันต่อไปโดยปราศจากทุกข์โศก เพราะเชื่อกันว่าบ้านที่มีคนตายเป็นเรือนร้ายไม่สะอาดบริสุทธิ์
จากนั้นจะนำศพไปยังป่าช้า (แฮ่ว) หรือวัดเพื่อทำการเผา รุ่งขึ้นเช้าจึงทำการเก็บกระดูกหมอพิธีจะนำ กระดูกบรรจุลงในภาชนะดินเผามีฝา ปิดฝังลงใต้ถุนบ้านซึ่งสร้างขึ้นอย่างหยาบๆ เพื่ออุทิศให้ศพ เช่น เสื้อผ้าที่ตัดเย็บเป็นตัวแล้ว เสื้อฮีและผ้าทอเป็นผืนๆ แขวนไว้บนเสาหลวงสร้างเรือนแก้วและเสายอด เป็นปลีดอกไม้ให้ จากนั้นที่บ้านของผู้ตายจะทำพิธีล้างเรือนให้เรือนสะอาด เขาเชื่อกันว่าเรือนที่มีคนตาย จะเป็นเรือนที่ไม่สะอาด จึงต้องให้แม่มดมาทำพิธีรับเคราะห์และปล่อยไป รุ่งขึ้นจึงทำพิธีเชิญวิญญาณ ผู้ตายเข้าบ้านเพื่อเป็นผีเรือนประจำบ้านต่อไป บางรายก็ส่งวันเดียวแล้วห่อข้าวเผื่อวันรุ่งขึ้นกรณีที่ผู้ตาย อายุ ๖๐ ปีเศษๆ หากอายุสูงปฏิบัติเช่นนี้ไม่ได้ การตายผู้ใดสิ้นลมที่บ้านมีลูกหลาน ห้อมล้อมถือว่ามีบุญ การอวยพรให้ทายาทผู้ตายนิยมกล่าวว่า “เออเอ็มได้วางมั่นวางยืนไว้เห่าเน้อเห่าอายุมั่นขวัญยืนกวามเจ็บ อย่าได้ไห กวามไล้อย่าได้มี” คำขีดเส้นใต้คือสถานภาพของผู้ตาย หากมีศักดิ์เป็น พ่อ ลุง อา ก็ว่าตามศักดิ์ หลังจากพิธีดังกล่าวมาแล้วนัดวันเอาผีขึ้นเรือนคือเชิญวิญญาณมาปกป้องคุ้ม ครองลูกหลาน แต่ผู้นั้นต้องไม่ตายโหง
พิธีเสนเรือน พิธีเสนเรือน (เซ่นผี) การไหว้ผีที่กะล้อห่อง ซึ่งแปลว่า มุมห้อง นิยมทำ ๒ – ๓ ปีต่อครั้งเพื่อจะได้มีสุข “เอ็ดนาก็มีข้าวขาย เอ็ดไฮก็มีหมากไม้” เดือนที่ไม่เสนเรือนคือเดือน ๙ เดือน ๑๐ เพราะผีเรือนไปเฝ้าแถน พิธีการเซ่นผู้น้อยกินหมู ผู้ต้าว(ท้าว)กินควาย ควายหรือหมูใช้ตัวผู้ เครื่องเซ่น จะจัดใส่ปานเผือน มักจะมี อย่างละ ๗ ห่อ มีหมู ไก่ กล้วย เผือก มัน อ้อย ใช้คีบด้วยถู (ตะเกียบลาว) หมอผี จะเรียกตาม “ปั๊บผีเรือน” คือ ชื่อคนตายที่ไม่ตายโหง(เสียชิวิตด้วยอุบัติเหตุ) คำนำหน้าผีชายเรียก กว้าน ผีหญิงเรียก น้องนาง (คำนำหน้าตอนเป็นคนชายเรียก บา หญิงเรียก อิ ไม่ใช่อี) เสนเรือนทำ ๓ วัน วันแรก เตรียมงาน กลางดึงฆ่าหมู วันที่สองรวมญาติทำพิธี วันที่สามแป่ (รื้อ) หัวหมู กินหัวหมู เฉพาะญาติใกล้ชิด คือ ชื่อคนตายที่ไม่ตายโหง(เสียชิวิตด้วยอุบัติเหตุ) คำนำหน้าผีชายเรียก กว้าน ผีหญิงเรียก น้องนาง (คำนำหน้าตอนเป็นคนชายเรียก บา หญิงเรียก อิ ไม่ใช่อี) เสนเรือนทำ ๓ วัน วันแรก เตรียมงานกลางดึง ฆ่าหมู วันที่สองรวมญาติทำพิธี วันที่สามแป่ (รื้อ) หัวหมู กินหัวหมู เฉพาะญาติใกล้ชิด พิธีเสนเรือนหรือเสนเฮือน มี 2 ประเภทได้แก่ 1 เสนเฮือนผู้ต๊าว เป็นพิธีเสนเฮือนที่ผู้สืบเชื้อสาย มาจากเจ้าเมืองเก่า และพิธีเสนเฮือน ผู้ต๊าว มี 2 ลักษณะ คือ เสนด้วยควาย (ใช้ ควายเป็นเครื่องเซ่น) หรือใช้หมูตัวผู้เป็นเครื่องเซ่น การที่จะใช้หมูเสนได้ต้องทำพิธี ขออนุญาตจากผีเรือนโดยทำการเสี่ยงทาย ถ้าผีเรือนอนุญาตจึงสามารถที่จะใช้หมู แทนควายได้ ถ้าผีเรือนไม่อนุญาตต้องเสนด้วยควาย ที่ต้องมีการเสนด้วยหมู เพราะถ้า ทำการเสนด้วยควายจะเป็นการสูญเสีย แรงงานในการทำมาหากิน แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นเสนด้วยหมูเกือบหมด แต่ยังเชื่อว่าถาได้เสนด้วยควายจะถือว่าเป็นสิริมงคล การเสนเฮือนด้วยควายดิบทำพิธี แต่ถ้าเป็นหมูจะใช้หมูต้มสุกทั้งตัว บ้านที่สามารถทำพิธีเสนเฮือนได้ต้องเป็นบ้านที่ดีและไม่มีเคราะห์ คือบ้านนั้นจะต้องไม่มีญาติเดียวกันเสียชีวิต ถ้าบ้านใดมีผู้เสียชีวิต ต้องทำพิธีฌาปนกิจศพและทำพิธีเอาผีขึ้นบ้านให้เรียบร้อย แล้วจะต้องทำพิธีเสน แก้เคราะห์ ก่อนทำพิธีต้อง 6 เดือนขึ้นไป และระหว่างนั้นต้องไม่มีสมาชิกในบ้านคลอดบุตร ผู้ประกอบพิธีเสนเฮือนผู้ต๊าว เรียกว่า “จาง” สิ่งที่ใช้ในการทำพิธี ได้แก่ หมู หรือควาย (เลี้ยงเองน้ำหนัก 80-120 กิโลกรัม มีสุขภาพดี) ไก่ (เลือกที่มีลักษณะดี สีหม่น เชื่อว่าจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์มีเงินทองไหลมาเทมา มีผ้าฝ้ายเนื้อดีข้าวปลา อุดมสมบูรณ์) เหล้าหมักเอง (การทำน้ำข้าว หมักจากข้าวเหนียว และข้าวหมาก) ขนม กะละแม ข้าวต้มมัด ขนมเปียกปูน ข้าวสาร หมาก พลู แกงหน่อส้ม แกงผำ ผัดเผ็ดไส้หมู ผัดหมี่ และปานเผือน ก่อนทำพิธีเสนเฮือน 1 วัน ต้องไป”วานหมอ” เชิญหมอเสน โดยนำข้าวสารห่อหมากพลู ภายในบรรจุหมาก 2-3 ลูก ใบพลูป้ายปูนแดง ไม่ต้องจีบห่อด้วยใบตอง 1 ห่อ ห่อยาสูบ (กวัน) เพื่อย้ำว่าวันรุ่งขึ้น จะมีพิธีการทำเสนเฮือน ที่บ้านงานจะหยุดให้อาหารหมูและบอกว่า “พรุ่งนี้จะฒ่าหมูทำเสน” (เจ้าภาพ) จะนำเสื้อฮี ขันน้ำ หมาก พลู และเหล้า ไปบอกผีเรือนขออย่าให้เกิดอุปสรรค พิธีการ เริ่มประมาณ 02.00 น. ด้วยการฆ่าหมูแล้วแบ่งเนื้อหมูและเครื่องในออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่นำไปใส่ปานเผือน และส่วนที่นำไปประกอนอาหาร ในตอนเช้าแขกจะเริ่มมา ถ้าเป็นญาติผีเดียวกันจะต้แงนำเหล้า ขนม ผลไม้ มาช่วยงาน เจัาภาพจะนำ ”เลือดต้า” อาหารที่ปรุงจากเลือดหมูผสมเครื่องเทศ ขนม มาต้อนรับ การรับประทาน อาหารในช่วงเช้า การจัดปานเผือน เป็นพานขนาดใหญ่บรรจุเครื่องเซ่น นำใบตองมาปูรองหมูต้ม มีกระดูกสันหลัง 7 ข้อ กระดูกซี่โครง 7 ซี่ เครื่องใน 1 ห่อ ข้าวเหนียว 7 ห่อ เนื้อหมูปิ้ง 7 ห่อ ตะเกียบ 7 คู่ นำหัวหมู คาง ลิ้น หาง นำขา ไว้ตรงกลาง นำขา 4 ขา วาง 4 มุม นำขนมจัดวางให้เต็ม ถ้าบ้านไหนมีลูกหลานเกิดใหม่ ยังไม่เคยนำไต้มาเสน ก็จะนำไต้ของเด็กมาวางบนปานเผือนด้วย การยกปานเผือน เริ่มทำ 09.00 น. โดย “จาง” มาถึงบ้านเสน จางสวมเสื้อไทมี “ เสื้อแปแดง” สวมทับส้วงฮี หรือกางเกงขายาว สวมกำไรเงิน เจ้าภาพจะนำขันน้ำ หมาก พลู รับรองจางจะนั่งบนตั่งเล็กๆ ญาติและเจ้าภาพจะนั่งล้อมรอบจาง ยกปานเผือนให้จาง การยกปานเผือนจะยก 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 สูงระดับเอว ครั้งที่ 2 สูงระดับอก ครั้งที่ 3 สูงระดับหัว จางจะเริ่มทำพิธีโดยเริ่มจาก ไต่เวนเจ็บเวนฮ้ายคือ ก่อนทำพิธีเซ่นเหล้าเพื่อให้ผีเรือนทราบ เสนให้ ด้วยความระลึกถึงการเจ็บป่วย เมื่อผีเรือนรับทราบจึงทำพิธีต่อไป โก้นหล่ำปลุกหล่ำตื่น คือการประกาศให้ผีเรือนทราบว่าวันนี้จะเชิญใคร มาทำเครื่องเซ่นบ้าง การเซ่นเหล้าคือการเชิญผีเรือนมาดื่มเหล้าทีละตน ถ้าเจ้าภาพเป็นสะไภ้แต่งเข้าผีทางสามีเสียชีวิตปั๊บผีเรือนชื่อแรก คือชื่อสามีตามด้วยปู่ย่าฯ ถ้าพี่น้องคนใดเสียชีวิตลง อายุไม่ถึง 15 ปี จะไม่มีชื่อในปั๊บผีเรือน ก๊บหล่ำคือการเชิญผีที่ตายโดย ถูกฆ่า ตกต้นไม้ ฟ้าผ่า จมน้ำ ผีที่ตายโดยอายุไม่ถึง 15 ปี ผีเหล่านี้รวมเรียกว่า “สามสิบหล่ำ” เป็นผีที่ตายไม่ดีไม่ควรนำชื่อมาใส่ปั๊บผีเรือน หิ่งเหล้า เซ่นเหล้าอีกครั้ง เชิญผีเรือนเดียวกันที่ตกค้างมาดื่มเหล้าที่เซ่น เซ่นหมู จะเริ่มเซ่นเวลา 11.00 น. โดยจางจะยกหล่อหลอลงจากปานเผือนนำมาวาง ข้างหน้าเชิญผีเรือนมารับเครื่องเซ่นทำคล้ายๆ เซ่นเหลือโดยอาจเรียกชื่อ ผีเรือนในปั๊บผีเรือนทีละคน ก๊บหล่ำ คือการเซ่นหมูให้ผีที่อยู่ใน “สาม สิบ หล่ำ“ หิ่งหมู คือ จะทำเพื่อจุดประสงค์เดียวกับหิ่งเหล้า ช่องเสน คือ เมื่อจางทิ้งห่อหล่อจะกลับมา นั่งที่ตั่งเริ่มทำพิธีช่องเสนเพื่อประกาศให้ผีเรือนทราบว่าจัดเสนเฮือนขอให้ผีเรือนคอยดูแล ปกปักรักษาสมาชิกภายในบ้าน แปงไต้ คือการเซ่นอาหารให้ผีขวัญที่สถิตใตไต้ กู้เผือน คือ การยกปานเผือนออกจากกว่าน แปงมด คือ การกล่าวชิญครูมด และครูมนต์ ร่วมดื่มเหล้าพร้อมรินเหล้า จากแก้วลงในถาดข้างๆตัวไก่แล้วรินน้ำลงไป ขำเหล้าเฮือน คือ เป็นการเชิญญาติผีเดียวกัน มาเริ่มดื่มเหล้ากันเพื่อความสามัคคี ฟายท่าน คือ จางจะนำหมาก พลู ขันน้ำ เหล้า ทำพิธีเพื่อเคราพเทวดา,สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในหมู่บ้าน ขาวหว่า คือ เป็นการประกาศให้ผีญาติ ผีน้อง ที่อยู่ไกลรับทราบว่ามีการทำเสนเฮือน หลางาย คือ เวลา 13.00 น. เจ้าภาพจะยกอาหารมาต้อนรับผู้มาร่วมงานเรียกว่า หลา-งาย เป็นการ”กินงาย” เชื่อว่าผู้ต๊าวจะกินอาหารมื้อแรกเวลาเที่ยงวัน แป่หัวหมู คือ ในวันรุ่งขึ้นเจ้าภาพจะชำแหละหัวหมูนำกระดูกไหล่หัวหมูาเสียบที่เสา ในกะล้อห่อง
เริ่มประมาณตี 02.00 น. ด้วยฆ่าหมูนำเลือดหมูที่รองในกะละมังไปทำลาบเลือด (เลือดต้า) ผู้ที่หามหมูมาเป็นลูกเขยคนโต และเพื่อนบ้าน ลูกเขยคนโตต้องใส่เสื้ฮี เมื่อถึงบันไดขั้นสุดท้ายจะต้องเอาเลือดหมูทา ที่บันไดด้านขวามือเชื่อว่าเป็นการบอกผีเรือนให้ทราบว่า บ้านนี้มีการเสนและหามหมูไปวางไว้ที่กะล่อห่อง ทำการชำแหละหมูในกะล่อห่อง เรียกว่า “ขาวหอง” จากนั้นแบ่งหมูเป็น 2 ส่วน นำหมูส่วนที่ 1 ไว้ในปานเผือนเวลา 06.00 น. “คนแต่งเสน” จะเข้ามาแต่ง “ปานเผือน” โดยนำกระดูกสันหลัง 7 ข้อ กระดูกซี่โครง 7 ซี่ ลิ้น หัวใจ ตับ ปอด เนื้อหมูจัดวางในปานเผือน จากนั้นนำไส้หมู มาวางรงกึ่งกลาง เรียกว่า “ไส้ล้อมเผือน” แล้วปิดด้วยใบตอง ผลไม้ เผือก มัน กล้วย อ้อย ข้าวต้มมัด 7 มัด ขนมใบไม้ ขนมโก๋ ขนมจันอับ ถั่วตัด วางในปานเผือน ส่วนตรงกลางจะนำใบตองมาจับจีบ ใส่จุ๊บหน่อไม้ “ถ่วยกำป้อน” ปักตะเกียบ 7 คู่ ห่อข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบตอง 7 ห่อ ด้านบนใส่หมาก พลู ขวดเหล้า ถ้าขนมมากเกินไปจะนำมาใส่ปานปอมญาติผีเดียวกัน จะนำปั๊บผีเรือนมอบให้หมอเสน แล้วจึงนำอาหารมารับรองคือ เลือดต้าและขนมต่างๆ หมอเสนจะแต่งกายด้วยเสื้อไทยและสวมทับ ยกปานเผือน เมื่อเจ้าภาพพร้อมจะเริ่มโดยญาติผีเดียวกันยกปานเผือนในกะลอห่อง มอบให้หมอเสนจะยก 3 ดังนี้
ยกครั้งที่ 1 สูงเสมอเอว แล้วถามหมอเสนว่า “แค่นี้พอไหม” หมอจะตอบว่า “ดีแล้วแต่ถ้าให้ดีสูงกว่านี้” ญาติจะหย่อนปานเผือนลงไม่ถึงพื้น ยกครั้งที่ 2 สูงเสมออกแล้ว ถามหมอเสนว่า “แค่นี้พอไหม” หมอเสนจะตอบว่า “ดีแล้วแต่ถ้าให้ดีต้องยกท่วมหัว” ยกครั้งที่ 3 เหนือศรีษะแล้วถามหมอเสนว่า “แค่นี้พอไหม” หมอเสนจะตอบว่า “สูงแค่นี้ดีที่สุดแล้ว” แล้วญาติจะนำปานเผือนส่งให้หมอเสน มอบปานช้องภายหลังจากเสร็จปานเผือนแล้วผู้รู้จะเข้ามามอบปานช้องพร้อมกับกล่าว “คำช้อง” เพื่อเชิญหมอเสนมา ประกอบพิธีเสนเฮือนภายใน ปานช้องจะประกอบด้วย แกงหน่อส้มใส่ไก่ เรียกว่า “ช้องด้วยอังไก่หนาขาไก่ช้อง “เมื่อหมอเสน รับปานช้องแล้วจึงกล่าวคำบูชาครูและทำการเสี่ยงทายเท้าไก่ เมื่อทำนายผลการเสี่ยงทายเท้าไก่เจ้าของเสื้อผู้เสนและต่อหมอเสนเอง โดยเท้าไก่ข้างขวาจะทำนายผลใหแก่เจ้าของเสื้อ ส่วนข้างซ้ายจะทำนายผลให้แก่หมอเสนการเสี่ยงทายจะดูที่เท้าไก่ ดังนี้ ถ้านิ้วเท้าไก่เหยียดตรงมารวมกันหรือเรียงกันเป็นระเบียบถือว่าดี สุขสบาย ทำการใดก็สำเร็จ ถ้านิ้วไก่หงิกงอ ผิดรูปหรือมีนิ้วมาแทรกอยู่ระหว่างนิ้วอื่น ไฟไหเข่า พิธีจี่ไฟไหเข่าเป็นการเชิญ แม่เตาไฟแม่ประตูและแม่บันไดมารับเครื่องเซ่นเพื่อแสดงความเคารพและระลึกถึงพระคุณ ของแม่เตาไฟแม่ประตูและแม่บันได พิธีจี่ไฟไหเข่า เริ่มต้นโดยผู้ที่มีความสามารถใส่เสื้อฮี นุ่งกางเกงขายาว มือถือวีเริ่มทำพิธี โดยฉีกใบตอง 3 นิ้วเสียบข้างฝาบ้านให้อาหาและน้ำผ่านสะดวกขึ้น ยกปานเผือนเมื่อเจ้าภาพพร้อมจะเริ่มโดยญาติผีเดียวกันยกปานเผือนในกะล่อห่องมอบให้หมอเสนจะยก 3 ครั้ง ดังนั้น ยกครั้งที่ 1 สูงเสมอเอว แล้วถามหมอเสนว่า “แค่นี้พอไหม” หมอจะตอบว่า”ดีแล้วแต่ให้ดีต้องสูงกว่านี้” ญาติจะหย่อนปานเผือนลงพื้น ยกครั้งที่ 2 สูงเสมออกแล้วถามหมอเสนว่า”แค่นี้พอไหม”หมอเสนจะตอบว่า”ดีแล้วแต่ถ้าให้ดีต้องยกท่วมหัว” ยกครั้งที่ 3 เหนือศีรษะแล้วถามหมอเสนว่า”แค่นี้พอไหม” หมอเสนจะตอบว่า”สูงแค่นี้ดีที่สุดแล้ว” แล้วญาติจะนำปานผือนส่งให้หมอเสน มอบปานช้องภายหลังจากเสร็จปานเผือนแล้วผู้รู้จะเข้ามามอบปานช้องพร้อกล่าว”คำช้อง” เพื่อเชิญหมอเสนมาประกอบพิธีเสนเฮือนภายในปานช้องจะประกอบด้วยแกงหน่อส้มใส่ไก่ เรียกว่า “ช้องด้วยอังไก่หนาขาไก่ช้อง”เมื่อหมอเสน รับปานช้องแล้วจึงกล่าวคำบูชาและทำการเสี่ยงทายเท้าไก่ เมื่อทำนายผลการเสี่ยงทายเท้าไก่เจ้าเสื้อผู้เสนและต่อหมอเสนเอง โดยเท้าไก่ข้างขวาจะทำนายผลให้แก่เจ้าของเสื้อ ส่วนขางซ้ายจะทำนายผลให้แก่หมอเสนการเสี่ยงทายจะดูที่นิ้วไก่ดังนี้ ถ้านิ้วไก่เหยียดตรงมารวมกันหรือเรียงกันเป็นระเบียบถือว่าดี สุขสบาย ทำการใดก็สำเร็จ ถ้านิ้วไก่หงิกงอ ผิดรูปหรือมีบางนิ้วมาแทรกอยู่ระหว่างนิ้วอื่น ไฟเหาเข่า พิธีจี่ไฟไหเข่าเป็นการเชิญ แม่เตาไฟ แม่ประตู และแม่บันได มารับเครื่องเซ่นเพื่อแสดงความเคราพและระลึกถึงพระคุณ ของแม่ดตาไฟ แม่ประตู และแม่บันได พิธีจี่ไฟไหเข่า เริ่มต้นโดยผู้ที่มีสามารถ กล่าวคำเชิญเป็นผู้ประกอบพิธี เมื่อเสร็จจากพิธีจี่ไฟไหเข่าผู้ช่วยหมอเสนเริ่มทำพิธี ขาวหว่าที่บริเวณกลางบ้าน ขาวหว่า เป็นพิธีที่ต้องทำพร้อมกับพิธีแก่มแฮภายหลังจี่ไฟไหเข่าเสร็จ แล้วทำขึ้นเพื่อบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลมารับเครื่องเซ่นเริ่มจากผู้ช่วยหมอเสนจัด ”ปานขาวหว่า” เมื่อเตรียมปานขาวหว่าเสร็จ ผู้ช่วยหมอเสนจึงเริ่มทำ พิธีขาวหว่าโดยกล่าวคำเชิญบรรพบุรุษที่อยู่ห่างไกลมารับเครื่องเซ่น”หลาแลงกลางเฮือน” หรือการเลี้ยงอาหารกลางวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจึงเริ่มทำพิธีเซ่นเหล้าลางแกงต่อไป เซ่นเหล้าลางแกง เป็นการเซ่นเหล้าครั้งที 2 ซึ่งมีความหมายว่า การเซ่นเหลาให้ผีเรือนดื่มเพื่อล้างคาวน้ำแกง ภายหลังรับประทานอาหารกลางวัน การเซ่นเหล้าจะทำการเช่นเดียวกับการเซ่นเหล้า หลวง หลังจากเสร็จพิธีเซ่นเหล้าลางแกง จะเริ่มพิธีเซ่นเหล้ากู้ เซ่นเหล้ากู้ เป็นการเซ่นเหล้าครั้งที่ 3 มีความหมายว่า การเซ่นเหล้าครั้งก่อนเก็บ เครื่องเซ่นในปานเผือนหรือเรียกว่า ”กู้เผือน” การเซ่นเหล้าหมอเสนจะเชิญผีเรือนมาดื่มเหล้า เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเสร็จเรียบร้อยผู้ช่วย หมอเสนและผู้รู้จะมากันกู้ปานเผือน กู้เผือนหรือกู้ปานเผือน คือ การที่ผู้ช่วยหมอเสนและผู้รู้มาเก็บเครื่องเซ่น ในปานเผือน ขำเหล้าฟายเฮือน ภายหลังจากการกู้เผืือนเสร็จแล้ว หมอเสนจะเชิญเจ้าของเสื้อและญาติผีเรือนเดียวกันเข้ามาในกะล่อหองเพื่อมา ร่วมขำเหล้าฟายเฮือน (เป็นการดื่มเหล้า เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่วงศ์ตระกูล) ต่อไปหมอเสนจะแปงมด และแปงใต้ แปงมดเมื่อขำเหล้าฟายเฮือน เสร็จหมอเสนจะทำพิธีแปงมดโดยการเชิญ ครูมดครูมนต์ มาร่วมกันดื่มเหล้าเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเสร็จสิ้นพิธีเสนเฮือน จากนั้นหมอเสนจะทำการแปงได้ต่อไป แปงใต้หมายถึง การเซ่นผีขวัญของเจ้าเสื้อที่สถิตอยู่ไต้ เพื่อให้ผีขวัญช่วยดูแลปกปักรักษาเจ้าของเสื้อให้อยู่เย็นเป็น สุข หลังจากเสร็จจากพิธีกรรมในกะล่อห่องแล้ว หมอเสนจะออกมาจากกะล่อห่องมา”ฟายท่าน” เป็นลำดับสุดท้าย ฟายท่าน หมายถึง การทำความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่คอยปกป้อง คุ้มครองดูแล |