ลักษณะที่อยู่อาศัย

                        เฮือน(เรือน)ไทยทรงดำแบบดั้งเดิมมีลักษณะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณะเฉพาะกลุ่ม คือ มีหลังคาทรงโค้งรูปกระดองเต่า*มุงหญ้าคายาวคลุมลงมาเกือบถึงพื้นดินแทนฝาเรือนเพื่อป้องกันลม ฝน และอากาศที่หนาวเย็น (ในอดีตชุมชนไทยทรงดำตั้งอยู่ในแถบอากาศหนาว) ตัวเรือนยกใต้ถุนสูงเพื่อประโยชน์ในการเก็บสิ่งของเครื่องใช้เป็น ที่ประกอบการงานเช่น ทอผ้า ตำข้าว เป็นคอกเลี้ยงสัตว์ มักมีแคร่ไว้นั่งนอนและเป็นที่รับแขกในเวลากลางวัน เสาเรือนทำด้วยไม้ทั้งต้นมีง่ามไว้สำหรับวางคาน ยอดจั่วประดับด้วยไม้แกะสลักเป้นกิ่งคล้ายเขาควายไขว้กัน เรียกว่า”ขอกุด”พื้นเรือนทำด้วยไม้ไผ่ทุบเป็นชิ้นๆ แผ่ออกติดกัน ภายในตัวบ้านเป็นพื้นที่โล่งแบ่งส่วนสำหรับที่นอน ครัวและเป็นที่บูชาผีเรือน เรียกว่า “กะล้อหอง” มีชานแดดยื่นออกจากตัวบ้านมีบันไดขึ้นเรือนสองทางมียุ้งข้าวที่สร้างเป็นเรือนยกเสาสูงไว้ข้างที่พักอาศัย คนไทยทรงดำจะปลูกบ้านอยู่ใกล้ๆกัน ต่อมารูปแบบเรือนไทยทรงดำได้เปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นและความเหมาะสมตามยุคสมัย หญ้าคาที่นำมาทำวัสดุมุงหลังคาหายาก ไม่คงทนทั้งที่ยังเป็นวัสดุที่ง่ายต่อการติดไฟ เนื่องจากบ้านไทยทรงดำปลูกใกล้กันเป็นกลุ่มหากเกิดไฟไหม้จะลุกลามไปบ้านอื่นๆได้รวดเร็ว ลักษณะบ้านและวัสดุ ที่ใช้จึงเปลี่ยนเป็นไม้เนื้อแข็งหลังคาเป็นสังกะสี มีการ แบ่งกั้นห้อง ตามลักษณะการใช้สอย ปัจจุบันเรือนไทยทรงดำมีลักษณะผสมผสานระหว่างเรือนแบบดั้งเดิมกับเรือนสมัยใหม่ บ้างก็ใช้วัสดุผสมของปูนกับไม้ บางบ้านเป็นรูปทรงสมัยใหม่ไม่มีเอกลักษณ์ของไทยทรงดำอยู่เลย แต่ไม่ว่าลักษณะที่อยู่อาศัยของคนไทยทรงดำจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทุกห้องจะมีห้องสำหรับบูชาผีเรือน นับเป็นความเสียดายว่าลักษณะที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มไทยทรงดำแท้ๆกำลังจะสูญหาย

   

                        ลักษณะบ้านเรือนของชาวไทยทรงดำเป็นเรือนหลังใหญ่ ยกใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วย

หญ้าคา มีหน้าจั่วโดยมีไม้คล้ายเขาควายอยู่บนยอดจั่ว เรียกว่า "ขอกุด"  ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญ

แห่งความาสำเร็จ  ฝาบ้านขัดแตะทำด้วยไม้ไผ่ ไม่มีช่องหน้าต่าง มีระเบียง และบันไดทั้งด้านหน้า

และด้านหลังของตัวบ้าน ระเบียงด้านหน้าใช้เป็นที่รับแขกผู้หญิง เรียกว่า "กกชาน"  ระเบียงด้านหลัง

ใช้เป็นที่รับแขก ผู้ชาย เรียนกว่า "กว้าน"  ภายในตัวบ้านเป็นห้องโล่งกว้างเพียงห้องเดียว 

 แต่มีการจัดสรรพื้นที่ออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น กะล้อห่อง มุมนอน  และมุมครัว 

 

 

มุมครัว

 เป็นมุนหนึ่งภายในบ้าน ที่ครัวจะมีเตาไฟ และอุปกรณ์การหุงต้มด้วยหม้อดิน เหนือเต่าไฟ มีหิ้งสำหรับ

เก็บของใช้ จำพวกหวาย ไม้ไผ่ และเมล็ดพันธ์ุทางการเกษตร โดยอาศัยควันไฟจากการหุ้งหาอาหาร

จะลอยไปที่หิ้งไม่ให้มอดกิน

 

กะล่อห๋อง

                      เป็นพื้นที่มุมใดมุนหนึ่งในตัวบ้านสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของผีบรรพบุรุษ และต้องมีการ

                       เจาะช่องฝ่าบ้านไว้ 1 ช่อง  เพื่อเวลาทำพิธีเสนจะต้องส่งอาหารที่ทำให้ผีบรรพบุรุษ

                       ทางช่องนี้

   

มุมนอน

  ภายในตัวบ้านจะมีการจัดมุมนอนมุมหนึ่ง โดยที่นอนและมุ้งของชาวไทยทรงดำล้วนสีดำ

ประกอบด้วย มุ้ง (ผ้ายั่น) ฟูก (เสื่อ) เสื่อ (สาด) ผ้าห่ม และหมอน