ทรงผมหญิงไทยทรงดำ ทรงผมของหญิงไทยทรงดำมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มชาติพันูธ์ุอื่นๆ ในโลก ลักษณะของทรงผมขึ้นอยู่กับอายุตามความยาวของผม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของหญิงชาวไทดำในอดีต สืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน แต่บางทรงก็ได้เลือนหายไปคงเหลืออยู่แต่บางทรงที่เห็นกันปัจจุบันคือทรงปั้นเกล้าต่วงโดยเป็นส่ิงที่บ่งบอกถึงสภานะภาพของผู้ทำทรงผมนั้น ๆ แบ่งออกได้ดั้งนี้ ทรงเอื้อมไหล่สำหรับเด็กสาวอายุ 13-14 ปี ผมยาวประไหล่ เป็นการไว้ผมทรงแรกของเด็กหญิง
ทรงสับปลิ้น สำหรับเด็กสาวอายุ 14-15 ปี ผมยาวตลบปริ้นขึ้นด้านบน (ผมยาวแล้วตลบปลายผมสับหวีไว้ท้ายทอย ด้านข้างทั้งสองแผ่ออกคล้ายพัด กลัดด้วยกิ๊บ)
ทรงช่อดอกแค หรือห่างนกกะแล สำหรับเด็กสาวอายุ 15-16 ปี จุกผมไว้ด้านข้างปล่อยปลายคล้ายดอกแคหรือห่างนกกะแล
ทรงขอดกระต็อก สำหรับสาวอายุ 16-17 ปี ขมวดผมแล้วผูกผมแบบเงื่อนตาย เอาชายผมไว้ข้างขวาของศีรษะ
ทรงจุดตุ๊ก สำหรับหญิงสาว อายุ 17 ปี เกล้าเป็นจุกไว้บนศีรษะและหักทบมารวมกันไว้กลางศรีษะคล้ายหอยโข่ง
ทรงขอดซอย สำหรับหญิงสาวอายุ 18-19 ปี ขมวดผมแล้วผูกผมแบบเงื่อนตาย แต่เอาชายไว้ด้านซ้ายทำเป็นโบว์ 2 ข้าง เสียบผมให้อยู่ทรงด้วยปิ่นหรือไม้ขัดเกล้า
ทรงปั้นเกล้าต่วง สำหรับสาวเต็มวัย อายุ 20 ปีขึ้นไป เกล้าผมไว้กลางศรีษะคล้ายหูกระต่ายหรือโบ ชายผมห้อยด้ายซ้าย ไว้ผมทรงนี้เรื่อยไปจนตาย ต้องไว้ผมยาวมาก บางคนยาวเกือบถึงน่อง ขมวดผมม้วนเป็นกลุ่มไว้ข้างหน้าแบบปั้นเกล้าซอย แต่ไม่ต้องปล่อยชายผมออกมา ต้องทำให้ผมมีกลุ่มใหญ่จะสวยงาม (ประเพณีไทยทรงดำ ถ้าหญิงสาวใดยังทำผมปั้นเกล้าไม่ได้ ยังไม่ให้แต่งงาน หรือห้ามเกี่ยวข้องกันในเรื่องชู้สาวกับชายใด)
ทรงปั้นเกล้าต๊ก(ทรงแม่หม้าย) สำหรับหญิงไทยทรงดำ ที่สามีเสียชีวิต ภรรยาจะทำทรงนี้เฉพาะช่วงที่ไว้ทุกข์เท่านั้น (ต๊ก หรือ ทุกข์) แบบผมสำหรับหญิงหม้ายไว้ทุกให้กับสามี ขณะศพยังอยู่บนบ้าน จะปล่อยผมลงหมด ไม่ปั้นเกล้าเลย และเอาเครื่องประดับออกหมด เมื่อทำการเผาศพเชิญวิญญาณมาเป็นผีเรือน แล้วต้องไว้ทุกข์ 1 ปี ต้องทำผมปั้นเกล้าตก
|