ประเพณีและการละเล่นการละเล่นพื้นบ้าน
การรำแคน การรำแคนจะประกอบด้วยเสียงแคนและเสียงปรบมือ การร้องเพลง แก้กันเรียกว่า “เซิ้งกอน” เป็นการร้องกลอนโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง เป็นการร้องเพื่อประกอบการเล่นลูกช่วงมาจาก คำว่า “แซว” เพราะมีการพูดประชดประชันเสียดสีหยอกล้อ เพื่อให้โกรธ คนใดไม่โกรธถือว่ายอดหญิง ยอดชาย รู้จักข่มอารมณ์ตนได้เป็นยอดคน สาวคนนั้นจะเลือกเป็นสะใภ้บ้านนั้นก็จะไม่เถียงแม่สามี หนุ่มคนใดถูกเลือกเป็นลูกเขยก็ไม่มีเรื่องกับลุงตา (พี่ชายของภรรยา) ไทยทรงดำมีกุศโลบายให้ คนเป็นเขย ยอมให้กับพี่ภรรยา ซึ่งครอบครัวนั้นจะราบรื่น คือ มีความเกรงใจ การไปเที่ยวลงขวง ก็เช่นกัน หากหนุ่มใดมาลวนลามสาวพี่ชายของสาวจะสั่งสอนด้วยการปิดตรอกตีศรีษะ
การโยลูกช่วง หรือลาวโซ่งเรียกว่า “ต๊อดมะกอน” การแปลความหมายของตัวอักษรเป็น “ทอดมะกอน” นั่นคือการแปลภาษาโซ่งเป็นภาษาไทยตามตัวอักษรอ่านแล้วขัดความรู้สึกของ ผู้เป็นโซ่ง แต่หนังสือหลายเล่มเขียนโดยคนโซ่งก็เป็นเช่นนั้นที่จริงความหมายของคำว่า “ต๊อด” คือการโยน “มะกอน” คือลูกช่วง คือ การโยนลูกช่วงระหว่างหนุ่มสาวเป็นการทอดไมตรีเป็นการละลาย พฤติกรรมในเบื้องต้นของคนที่ยังไม่รู้จักคุ้นเคยกัน โดยมีผู้รู้มักเป็นคนแต่งงานแล้วขับต๊อดกอน นั่งขับอยู่ที่แคร่ขณะที่หนุ่มสาวออกไปโยนลูกช่วงกันกลางลานบ้าน การโยนลูกช่วงมักใช้สาวน้อย ใส่เสื้อฮี หนุ่มน้อยใส่เสื้อฮี โยนรับลูกช่วง ใครรับได้หรือไม่ได้ก็มีกติกาว่ารับได้จะสิ่งของเป็นการตอบแทน รับไม่ได้ถูกลงโทษ โดยโยนกี่ครั้ง แล้วเปลี่ยนสลับแดนการโยนลูกช่วง เรียกว่า “เปลี่ยนส่าง” แปลว่า เปลี่ยนข้าง คือ ใครอยู่ทิศเหนือก็เปลี่ยนไปอยู่ทิศใต้นั่นเองขณะที่หนุ่มสาวลงไปโยนลูกช่วง คนที่เฒ่าเป็นปอแม ก็จะขับ เพื่อสนับสนุนการโยนลูกช่วงให้มีความสนุกและมีความเป็นพิธีกรรมมากขึ้น |