พิธีงานศพไทยทรงดำ

     เมื่อผู้ตายเกิดขึ้นในบ้านเจ้าของบ้านยิงปืนขึ้นฟ้า เพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปที่ชอบ ความเป็นจริงคือ

แจ้งเพื่อนบ้านให้รู้ว่ามีการตายเกิดขึ้นเมื่อผู้ชราเสียชีวิตในบ้านบรรดาญาติพี่น้องในหมู่บ้านนั้น มื่อมีคนตายในหมู่บ้านชาวบ้านทุกครัวเรือนจะให้ความสำคัญกับการตายมากจะหยุดงานการทุกอย่างที่ทำและมาช่วยกันจัการกับงานศพ ศพจะตั้งไว้ในบ้านกรณีเสียชีวิตที่บ้าน หากเสียชีวิตนอกบ้าน

หรือโรงพยาบาล จะนำเอาไปไว้ที่วัด ในวันแรกที่มีคนตาย ญาติพี่น้องจะอาบน้ำแต่งตัวให้ศพ โดยให้ใส่เสื้อฮีด้านที่มีสีสัน แล้วยกศพวางบนแคร่ไม้ไผ่ที่ทำขึ้น นำไปวางไว้ใต้ขื่อบ้านตามยาว 

 หลังจากได้ทำความสะอาดร่างผู้เสียชีวิตแล้วก็จะใส่เสื้อผ้าให้แก่

ผู้ตาย เรียกว่าการ "หลอย"  ประกอบด้วย เสื้อไทหรือเสื้อก้อม 1-2 ผืน ไม่มีกระดุม กางเกงหรือผ้าซิ่น

1-3 ผืน เสื้อฮี โดยจะผูกเหรียญที่คอเสื้อผู้ตาย มีมะกอน 1 ลูกและ "ไม้ก้านก่อง" ใส่มือผู้ตายไว้ โดยใช้

แป หรือไหมที่ทอเป็นผืน และฝ้าย ห่อร่างผู้ตาย  แล้วนำ ไตกิง พลาดตัวผู้เสียชีวิตไว้ แล้วนำบรรจุใส่

โลงศพ แล้วนำเสื้อฮีคุมโรง 3 ผืน

 ในวันแรกที่มีคนตาย ญาติพี่น้องจะอาบน้ำแต่งตัวให้ศพ โดยให้ใส่เสื้อฮีด้านที่มีสีสัน แล้วยกศพวางบนแคร่ไม้ไผ่ที่ทำขึ้น นำไปวางไว้ใต้ขื่อบ้านตามยาว รองและคลุมศพด้วยผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายสีขาวหรือแดง บ้านที่มีฐานะดีจะจัดทำ         “เรือนแส” ครอบศพ เรือนแสเป็นมุ้งใหญ่ที่ทำด้วยผ้าขาว หรือจะทำเป็นม่านล้อมรอบศพก็ได้ เหนือศพจะทำราวแขวนผ้าที่ทอไว้ นอกจากผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่แขวนไว้นี้ก็จะมีไข่ดิบห่อข้าวเหนียวแขวนไว้ด้วย ปลายเท้าศพจะวางเครื่องเซ่นไหว้ ตอนกลางคืนจะมีการก่อกองไฟไว้ข้างบ้านติดกับห้องผีเป็นสัญลักษณ์ของคนตาย และปล่อยให้ลุกทั้งคืน วันรุ่งขึ้นหมอพิธีที่เรียกว่า “เขย” จะทำพิธีบอกทางให้กับผู้ตาย เพื่อให้วิญญาณกลับไปเมืองแถนบ้านเกิดเมืองนอน ซึ่งปัจจุบันนี่เปรียบเสมือนเมืองฟ้าเมืองสวรรค์สำหรับผู้ตาย หลังจากนั้นจึงหาบศพไปเผาที่ป่าแฮ่วหรือป่าช้า โดยให้ผู้เป็นลูกชายผู้ตายถือธงนำหน้าเมื่อถึงป่าแฮ่ว หมอพิธีต้องทำพิธีเสี่ยงทายเพื่อขอซื้อที่สำหรับเผาศพ เมื่อได้ที่แล้ว จึงช่วยกันถางหญ้าพรวนดินให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วปักเสา 4 เสา วางแคร่บนปลายเสา กองฟืนไว้ใต้เสา แล้วหมอพิธีจุดไฟเผาไล่มด จากนั้นเจ้าภาพจะจุดไฟเป็นคนแรก วันรุ่งขึ้น ญาติจะไปเก็บกระดูก และทำพิธีส่งผี คือส่งเสื้อผ้าเครื่องใช้ไปให้ผี เช่น ธงสำหรับให้ผู้ตายเกาะชายธงไปเมืองฟ้า เสาหลวงเป็นพาหนะให้ศพขี่ไปเมืองฟ้า เรือนแก้วสำหรับเป็นบ้านเรือนให้ผู้ตายได้อยู่ในเมืองฟ้า เป็นต้น หลังจากพิธีส่งผีแล้ว จะต้องหาวันที่ทำพิธีแผ้วเรือน เพื่อล้างเรือนให้สะอาดเสียก่อนที่จะอยู่อาศัยกันต่อไปโดยปราศจากทุกข์โศก เพราะเชื่อกันว่าบ้านที่มีคนตายเป็นเรือนร้ายไม่สะอาดบริสุทธิ์

 

 

     จากนั้นจะนำศพไปยังป่าช้า (แฮ่ว) หรือวัดเพื่อทำการเผา รุ่งขึ้นเช้าจึงทำการเก็บกระดูกหมอพิธีจะนำ

กระดูกบรรจุลงในภาชนะดินเผามีฝา ปิดฝังลงใต้ถุนบ้านซึ่งสร้างขึ้นอย่างหยาบๆ เพื่ออุทิศให้ศพ เช่น

เสื้อผ้าที่ตัดเย็บเป็นตัวแล้ว  เสื้อฮีและผ้าทอเป็นผืนๆ แขวนไว้บนเสาหลวงสร้างเรือนแก้วและเสายอด

เป็นปลีดอกไม้ให้ จากนั้นที่บ้านของผู้ตายจะทำพิธีล้างเรือนให้เรือนสะอาด เขาเชื่อกันว่าเรือนที่มีคนตาย

จะเป็นเรือนที่ไม่สะอาด จึงต้องให้แม่มดมาทำพิธีรับเคราะห์และปล่อยไป รุ่งขึ้นจึงทำพิธีเชิญวิญญาณ

ผู้ตายเข้าบ้านเพื่อเป็นผีเรือนประจำบ้านต่อไป บางรายก็ส่งวันเดียวแล้วห่อข้าวเผื่อวันรุ่งขึ้นกรณีที่ผู้ตาย

อายุ ๖๐ ปีเศษๆ หากอายุสูงปฏิบัติเช่นนี้ไม่ได้ การตายผู้ใดสิ้นลมที่บ้านมีลูกหลาน  ห้อมล้อมถือว่ามีบุญ

การอวยพรให้ทายาทผู้ตายนิยมกล่าวว่า “เออเอ็มได้วางมั่นวางยืนไว้เห่าเน้อเห่าอายุมั่นขวัญยืนกวามเจ็บ

อย่าได้ไห กวามไล้อย่าได้มี” คำขีดเส้นใต้คือสถานภาพของผู้ตาย หากมีศักดิ์เป็น พ่อ ลุง อา

ก็ว่าตามศักดิ์ หลังจากพิธีดังกล่าวมาแล้วนัดวันเอาผีขึ้นเรือนคือเชิญวิญญาณมาปกป้องคุ้ม ครองลูกหลาน

แต่ผู้นั้นต้องไม่ตายโหง